ความหมายของมนุษยสัมพันธ์
คือ ความนำเอาทั้งศษสตร์ และศิลป์มาใช้ในการสร้างสัมพันธ์อันดีต่อบุคคล เพื่อให้ได้มาซึ่งความรักใคร่ นับถือ ความร่วมมือ
ความหมายขององค์กร
ในทางเศรษฐศาสตร์ องค์กรหรือ องค์การหมายถึง บุคคลกลุ่มหนึ่งที่มารวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกันและดำเนินกิจกรรมอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
องค์ประกอบที่สำคัญขององค์กร
1. วัตถุประสงค์
2.โครงสร้าง
3. กระบวนการปฏิบัติหมายถึงแบบอย่างวิธีปฏิบัติที่เป็นแบบแผนมั่นคงแน่นอน เพื่อให้ทุกคนยึดเป็นแนวปฏิบัติ
4. บุคคล
ประเภทขององค์กร
1.ประเภทแสวงหาผลกำไร คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ
2.ประเภทไม่แสวงหาผลกำไร คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นหลัก เช่น สมาคม สถาบันมูลนิธิ
แนวคิดของการสร้างมนุษยสัมพันธ์
1. มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน
2. มีแรงจูงใจในอนาคต
3. มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาตนเอง
4. มีความเข้าใจธรรมชาติความต้องการของผู้อื่น
5. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน
6. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์
ยึดหลักของ มาสโลว์ ในด้านวัตถุ จิตใจ คือสื่งจำเป็นพื้นฐานในการครองชีพ ความมั่นคงปลอดภัย การยกย่องนับถือ การยอมรับจากสังคม
ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์
- เกิดความราบรื่นในการติดต่อระหว่างบุคคลหน่วยงาน
- เกิดความยินดี พอใจ และความร่วมมือในการทำงาน
- เกิดความเชื่อถือ รักใคร่ นับถือศรัทธาระหว่างกัน
- เกิดความเข้าใจกันดีระหว่างกัน
- เกิดความสำเร็จในกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน
วิธีฝึกทักษะการสร้างมนุษยสัมพันธ์
1. การรู้จักควบคุมตนเอง 2. มีใจเปิดกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
3. รู้จักถ่อมตน 4. พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับผู้อื่น 5.รู้จักถนอมน้ำใจคนอื่น
แนวทางการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน
1.หลักการสร้างสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
* สร้างความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น
* ใช้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
* แสดงความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
* ให้เกียรติผู้อื่นอย่างจริงใจ
* แสดงความชื่นชมให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
2.วิธีเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์
* ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา
- รู้จักควบคุมอารมย์ของตนเอง
- รู้จักส่งเสริมและให้กำลังใจในการทำงาน
- รู้จักใช้ศิลปะในการวิพากษ์วิจารณ์
- รู้จักมีศิลปะในการรับฟังความคิดเห็น
- รู้จักดูแลและรักษาผลประโยชน์ของเขา
* ระหว่างผู้บังคับบัญชา
- ศึกษาลักษณะนิสัยในการทำงานของผู้บังคับบัญชา
- ทำงานให้เต็มความสามารถ
- พยามอย่าก่อเรื่องกวนใจ
- ไม่ปฏิเสธโดยขาดเหตุผลที่เหมาะสม
- ไม่แสดงอารมณ์โกรธเมื่อผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วย
* ระหว่างเพื่อนร่วมงาน
- ควรเข้าหาเพื่อนก่อน
- มีความจริงใจต่อกัน
- อย่าซัดทอดความผิดเพื่อนร่วมงาน
- ไม่นินทาว่าร้ายเพื่อน
- ให้การชมเชยยกย่องตามสมควรแก่โอกาส
- ไม่ข่มเพื่อน
- ดีเสมอต้นเสมอปลาย
* ระหว่างบุคคลภายนอก
- แสดงความสุภาพเป็นมิตร
- จดจำข้อมูลและรายละเอียด
- ไม่แสดงท่าทางตำหนิ
- แสดงความจริงใจเสมอ
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ ตามแนวพระพุทธศาสนา
การใช้สังคหวัตถุธรรม
1.ปิยวาจา เจรจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะรื่นหู
2.อัตถจริยา ร่วมปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อกัน
3.สมานัตตา ประพฤติตนวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย เหมาะสมกับกาลเทศะ
คำถาม-คำตอบ
ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
(1.)การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ตอบ
(2.)การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ตอบ
(3.)หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ
(4.)แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร
ตอบ